ขายออนไลน์ขายช่องทางไหนดี?


หลายธุรกิจ หรือหลายคน ก็ต่างมีความสนใจในธุรกิจออนไลน์มากขึ้นในปี 2018 ซึ่งมีการขับเคลื่อนจากหลายองกรค์และรัฐบาลมากมายเลยนะคะ ที่เข้ามาสนับสนุนธุรกิจให้เข้าสู่ออนไลน์ แต่หลายคนก็สงสัยว่าจะเริ่มจากจุดไหน เริ่มยังไงกันก่อนดี ซึ่งพอเราเปิดมือถือ search หาข้อมูลปุ๊ป ก็เจอช่องทางการขายมากมายเลยใช่ไหมคะ บางทีดูเยอะๆ ก็แทบจะมึนกันไปเลย วันนี้ โดมานด้า มีข้อมูลแบบกระชับ รวบรัด ว่าเราควรจะขายของออนไลน์ผ่านช่องทางไหนดีค่ะ

"แต่เอ๊ะ หลายๆ คนอาจสงสัยว่าการเลือกช่องทางการขายสินค้าออนไลน์นั้น เรามีพื้นฐานจากอะไรในการตัดสินใจเลือกขายผ่านช่องต่างๆ จริงๆ หากมองย้อนให้เห็นภาพง่ายๆเลย ปรกติเวลา เราจะขายอะไรซักอย่าง เราก็จะนึกถึงว่า ขายที่ไหนดี ขายที่สยามพารากอนดีไหม ขายที่พันทิปดีไหม ขายที่ประตูน้ำดีรึเปล่า ซึ่งปรกติแล้ว สาเหตุหลักๆ ที่เราคิดถึงห้างสรรพสินค้าชั้นนำ พวกนี้ เวลาจะขายของ ก็มาจากการที่มีคนเดินห้างเหล่านั้นเยอะ ซึ่งภาษาออนไลน์ เราเรียกว่า “Traffic” "

นอกจากนี้ การวางสินค้าของเราให้ถูกที่ ก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เราขายดี เช่นกันค่ะ ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเราอยากขายเสื้อผ้า เราควรจะขายที่ประตูน้ำ มากกว่าที่จะขายที่ห้างพันทิป ใช่มั้ยคะ หรือว่า เราจะขายมือถือมือสอง ขายที่มาบุญครอง เหมาะกว่าขายที่สยามพารากอน จริงหรือจริงคะ? ด้วยปัจจัยนี้ จึงเป็นสาเหตุที่เราเห็นว่า สินค้าบางประเภท ขายดีมากในช่องทางที่คนอื่นขายไม่ดี หรือสินค้าบางประเภทขายไม่ดีเลยในที่ๆ ใครๆ ก็ขายดี

ดังนั้น วันนี้เราจะมาพิจารณา ว่าเราควรขายออนไลน์ ผ่านการพิจารณาบนพื้นฐานของคนเข้าช่องทางไหนเยอะสุด และช่องทางไหนเหมาะที่จะขายสินค้าประเภทอะไรค่ะ

Facebook

ฟังดูคลาสสิคมากนะคะ ใครๆก็ขายของผ่านช่องทางนี้เต็มไปหมดเลย แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ค่ะ เพราะ สำหรับประเทศไทยแล้ว Facebook เป็น เว็บที่มีคนเข้ามากที่สุดในประเทศไทย (ที่มา similarweb) และมี active user ของคนไทยอยู่ถึง 45 ล้าน user เลยทีเดียว รวมถึง Facebook ได้สร้าง platform ที่ง่ายต่อการซื้อขาย แบบ service mind คือการรองรับวิธีการซื้อขายแบบการบริการ แต่ไม่ได้หมายถึงเฉพาะสินค้าบริการนะคะ แต่เป็นการตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น ที่มีการพูดคุยทำให้เรามีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้มากกว่าช่องทางการขายช่องทางอื่นๆ ค่ะ ดังนั้น หากสินค้าของคุณ เป็นสินค้าที่ mass market และมีราคาสินค้าอยู่ระหว่าง 150 - 900 บาท จะเหมาะมากๆ กับช่องทาง Facebook แต่สินค้าอื่นๆ ก็สามารถ ขายผ่านช่องทางนี้ได้นะคะ แต่อัตราการตัดสินใจซื้อจะลดน้อยลง เรื่อยๆ จากราคาค่ะ

ประเภทสินค้าที่เหมาะขายใน Facebook

1. เสื้อผ้าแฟชั่น

2. เครื่องสำอางค์

Instagram

สำหรับประเทศไทย รองจาก Facebook ช่องทางที่มีคนเข้าถึงออนไลน์มากรองลงมาก็คือ Instagram ค่ะ โดยมีคน 11 ล้าน User ในไทย แต่ด้วยพฤติกรรมของ user ของ Instagram จะมีการติดตาม Key Influencer (บุคคลที่มีอิทธิพล) ทำให้ลูกค้าบน Instagram มีความสามารถที่ซื้อของในราคาที่สูงมากขึ้นจากการซื้อตามบุคคลที่ติดตาม มากกว่าลูกค้าใน Facebook ค่ะ ซึ่งสินค้า nice to have มีก็ดี แต่ไม่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิต แต่ความสวย มีดาราใช้ ใช้แล้วรู้สึกดี รู้สึกภูมิใจ ก็จะเหมาะมากๆ โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม upper class ราคาที่ตัดสินใจซื้อง่าย เริ่มตั้งแต่ 1000 - 100,000 บาท ที่จะขายบนช่องทางนี้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็น

  1. สินค้าแบรนด์เนม
  2. บริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นวด สปา คลินิกเสริมความงาม เป็นต้น

Line

ช่องทางนี้คงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่พิเศษ สำหรับคนไทยโดยเฉพาะก็ว่าได้ เพราะไทย ใช้ไลน์มากที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ซึ่งมี Line มี active user 33 ล้าน ในไทย (ข้อมูลจาก เว็บ infocenter) โดยคนส่วนใหญ่ที่ซื้อของในไลน์จะเป็นสินค้า Mass ของกลุ่ม baby boom นั่นก็คือรุ่นคุณพ่อคุณแม่สมัยนั่นเองค่ะ ซึ่งกำลังซื้อจะมากขึ้นเมื่อเทียบกับ Facebook แต่ไม่สูงเท่า Instagram ค่ะ ราคาที่ตัดสินใจง่ายอยู่ที่ 400 - 900 บาท ค่ะ โดยสินค้าที่เหมาะกับช่องทางนี้ ได้แก่

1. Gadget อุปกรณ์อิเล็กทรอนิก ที่มีราคาไม่สูงมาก

2. เสื้อผ้า

3. เครื่องสำอางค์

ความพิเศษของช่องทางไลน์คือ ลูกค้าเก่ากลับมาซื้อมากกว่าช่องทางอื่นๆ ค่ะ

Lazada

ถัดจากช่องทางการขายทั้งสามช่องทาง บนพื้นฐานของคนเยี่ยมชมเว็บไซส์ Lazada เป็นอันดับหนึ่งใน Ecommerce Platform เพราะสามช่องทางที่เราพูดก่อนหน้า จัดเป็น Social Media ที่มีระบบที่ช่วยให้เราสามารถปิดการซื้อขายได้ แต่ Lazada เป็น Platform Marketplace อย่างเป็นทางการที่ร้านค้าสามารถเข้าไปฝากขายสินค้า กับระบบจัดการสินค้าผ่าน Lazada โดยมีคนเยี่ยมชมเว็บอยู่ที่ 43 ล้านต่อเดือนค่ะ ซึ่งสินค้าที่เหมาะจะขายใน Lazada คือสินค้าที่ลูกค้ารู้อยู่แล้วคร่าวๆ ว่าใช้อย่างไร เบื้องต้น จึงไม่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนทางการใช้งาน ถึงแม้ว่า Lazada จะเปิดตัว function การแชทกับร้านค้า แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้พร้อมเท่ากับ Facebook โดยราคาที่ตัดสินใจซื้อขายง่ายใน Lazada อยู่ที่ 700 - 20,000 บาท ซึ่งสินค้าที่เหมาะมาก และขายดีในลาซาด้า ได้แก่

  1. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
  2. ของใช้ภายในบ้าน
  3. สินค้าแบรนด์เนมที่มีราคาไม่สูงมาก 2,000 - 4,000 บาท

Shopee

Shopee เป็น Marketplace platform ที่เน้นการขายแบบ C2C แต่ก็มี B2C อยู่ด้วยค่ะ ซึ่งมีคนเข้าถึงต่อเดือน 26 ล้าน user โดย Shopee จะมีความ friendly และ flexible ในการเข้าถึงลูกค้ามากกว่า Lazada ค่ะ ช่องทางนี้จึงเหมาะมากกับ น้องๆ ที่อยากหารายได้ ขายของออนไลน์ เริ่มต้นง่ายๆ กับ Shopee ได้เลย ทั้งการเปิดร้านที่ลงทะเบียนด้วยเบอร์มือถือ และ ลูกค้าใน Shopee ก็จะเป็น กลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ อยู่ที่ 300 - 700 บาท จึงเป็นสินค้าที่เหมาะกับเด็กนักเรียน สินค้าราคาประหยัด ซึ่งสินค้าที่เหมาะ จะขายบน Shopee ได้แก่

  1. เสื้อผ้า
  2. เครื่องสำอางค์
  3. รองเท้า นาฬิกา
  4. ของใช้ภายในบ้าน

เป็นไงบ้างคะ กับช่องทางการขายทั้ง 5 ช่องทางที่ Domanda แนะนำ หวังว่าจะทำให้ หลายๆธุรกิจที่อยากจะเริ่มช่องทางออนไลน์ หรือ หลายๆ คนที่อยากจะเริ่มทำขายของออนไลน์ง่ายๆ หลังเลิกงาน หรือ หลังเลิกเรียน สามารถนำไปประยุกต์ใช้และตัดสินใจ ได้เบื้องต้นที่จะตัดสินใจเริ่มต้นขายสินค้าออนไลน์ค่ะ

เกี่ยวกับผู้เขียน