จะ ขายของออนไลน์ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ทั้งที มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

ขายของออนไลน์ หรือ ธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ เป็นเรื่องที่กำลังมาแรงในยุคนี้ เป็นช่องทางหารายได้เสริมทางใหม่จนบางทีอาจจะกลายเป็นรายได้หลักเลยก็ว่าได้ วันนี้ โดมานด้า จะมาแนะนำวิธีการ ขายของออนไลน์ และการทำธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ ให้ดัง ปัง สนั่นเมืองกันเลย

แน่นอนว่า การทำธุรกิจก็ต้องมีการลงทุน แต่ถ้าเราลงทุนโดยไม่มีหลักการ เราอาจจะขาดทุนได้ เพราะฉะนั้นเรามาดูหลักการลงทุนของการขายของออนไลน์ หรือทำธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ โดยเราจะเรียงจากเรื่องที่สำคัญที่สุด ไปจนถึงสำคัญน้อยๆ ลงไป

1. Traffic and marketing investment

Traffic and marketing investment คือการลงทุนด้านการตลาดและหาผู้เยี่ยมชม

ถ้าเราเปรียบเทียบกับการขายของแบบ Offline ถ้าเรามีสินค้าที่เราต้องการจะขาย เราก็ต้องเลือกทำเลที่ตั้งก่อน ว่าเราจะเปิดร้านที่ไหนดี คนเดินผ่านร้านเราเยอะไหม คนที่เดินใช่กลุ่มเป้าหมายเราหรือเปล่า ค่าเช่าที่เป็นอย่างไร ซึ่งคนที่เดินผ่านหน้าร้านเรา ภาษาออนไลน์จะเรียกว่า Traffic นะคะ อ่านเพิ่มเติมเรื่อง ขายออนไลน์ขายช่องทางไหนดี? ได้ที่นี่เลย

การเลือกทำเล ที่ตั้งร้าน ในออนไลน์เราจะจัดเข้าสู่กลุ่ม Marketing Investment ซึ่งจะเป็นการจัดสรรงบการลงทุนว่า เราจะเปิดร้านที่ไหนบ้าง เช่นเปิดร้าน Lazada, Instagram, Facebook, Line@ และ Website แต่ละที่ก็มีการลงทุนไม่เท่ากัน เช่น

  • Lazada มีค่า Commission ในการซื้อขาย ครั้งละ 1-10% แล้วแต่ชนิดของสินค้า
  • Instagram ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ต้องซื้อโฆษณาเพื่อเพิ่ม Traffic หรือ ใช้ # เพื่อเพิ่ม Traffic
  • Facebook ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ต้องซื้อโฆษณาเพื่อเพิ่ม Traffic ให้คนเข้าหน้า Page เรา
  • Line@ ค่าธรรมเนียมเริ่มต้นที่ ….. แต่ต้องซื้อโฆษณาจากช่องทางอื่นเพื่อเพิ่ม Traffic
  • Website

นอกจากการตัดสินใจเลือกช่องทางการขาย (Platform) ได้แล้ว ต่อมาเราก็ต้องหาวิธีเพิ่มจำนวน Traffic ให้คนเข้ามาที่ร้านเรามากขึ้น ซึ่งทำได้โดยการซื้อโฆษณาของ Platform นั้นๆ เพื่อให้คนเห็นรามากขึ้น แต่จำนวนคนที่เห็นเรามากขึ้น ไม่ได้แปลว่า คนที่เห็นโฆษณาทั้งหมดจะสนใจสินค้าเราทั้งหมด เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีการวางแผนให้ดีๆ ว่าจะเลือกกลุ่มคนที่มองเห็นโฆษณาเราเป็นใคร ใช้กลุ่มเป้าหมายที่สนใจซื้อสินค้าเราหรือเปล่าด้วย

2. Content and media production investment

หลังจากที่เราลงทุนเรื่องสถานที่ (Platform) และ จำนวนคนที่เดินผ่านหน้าร้านเรา (Traffic) ตามด้านบนแล้ว การขายของออนไลน์และการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซก็ต้องลงทุนกันเรื่อง Content and media production investment ถ้าเปรียบกับการขายของ Offline ก็คือการทำป้ายหรือสื่อโฆษณา

การทำคอนเท้นและสื่อโฆษณาออนไลน์ มีหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ เขียนบทความให้ความรู้ (เหมือนที่คุณกำลังอ่านอยู่นี่ไง) การทำวีดีโอ การ infographic และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเราก็ต้องทำความเข้าใจว่า กลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มลูกค้าเราเป็นใคร พวกเขามีไลฟ์สไตล์แบบไหน พวกเขาใช้สื่ออนไลน์อะไรกันบ้าง และ พวกเขาชอบเนื้อหาในรูปแบบไหน (mood and tone) ชอบแบบให้ความรู้ ชอบแบบขายกันตรงๆ hardsell ไปเลย แล้วต่อมาเราก็มาดูกันว่า จะวางแผนทำเนื้อหาและโฆษณาของเราอย่างไร ให้ลูกค้าติดใจ แล้วสนใจเลือกซื้อสินค้าของเรา


3. Manpower (Strategic Investment)

จากที่อธิบายมาทั้งสองข้อด้านบน Traffic and marketing investment และ Content and media production investment คือการเลือกสถานที่ขาย (Platform) การเพิ่มจำนวนคนที่เดินผ่านหน้าร้านเรา (Traffic) และการทำสื่อโฆษณา (Content and Media) ทั้ง 3 อย่างนี้ คือขั้นตอนการทำให้คนสนใจ และเข้ามาหน้าร้านเรา และเลือกซื้อสินค้าของเรา

แต่ทั้ง 3 ขั้นตอนนั้นก็ต้องอาศัยน้ำพักน้ำแรง หรือ Manpower อาจจะเป็นตัวคุณเอง หรือ ผู้ช่วยของคุณ ซึ่งเพื่อให้ได้ผลการขายที่ดีที่สุดนั้น ก็ต้องอาศัยความรู้และติดตามข่าวสารการอัพเดทของ Platform ต่างๆ เช่น ต้องใช้ Facebook Page เป็น ต้องซื้อโฆษณา Facebook Ads ให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย และตามข่าวจาก Facebook ว่า วันหนึ่ง Facebook เปลี่ยนระบบ Algorithm ก็ต้องตามข่าวและปรับกลยุทธการซื้อโฆษณาให้ทัน ซึ่งนอกจาก Facebook แล้ว เราก็ต้องตามให้ทัน Platoform การขายต่างๆ ให้ทันด้วย

4. Product Investment

เมื่อเราเริ่มการสร้างหน้าร้าน ซื้อโฆษณาสร้างความสนใจ และดึงคนเข้าร้านได้แล้วนั้น คราวนี้ก็ถึงการลงทุนเรื่องตัวสินค้าของเราเพื่อเตรียมขายแล้ว

  • ปรับปรุงสินค้าให้ถูกใจลูกค้า : เมื่อเราเริ่มขายสินค้า เราจะได้รับ Feedback ของสินค้าเรา เราก็จะต้องคอยปรับปรุงสินค้าให้ตรงใจกับลูกค้า
  • ทำสต้อกสินค้า : ซื้อสินค้าเพื่อทำสต็อก สินค้าเพื่อให้พร้อมขาย
  • หาสินค้าใหม่ๆ : เพื่อขยายธุรกิจ เราก็ต้องหาสินค้าใหม่ๆ มาให้ลูกค้าเลือกซื้อเรื่อยๆ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับ 4 การลงทุนของการขายของออนไลน์ และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่จะทำให้ดังสนั่น ยอดพุ่ง ถ้าอ่านแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจ แล้วคิดว่าไม่ใช่เรื่องที่ถนัด อยากได้ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา ติดต่อพวกเรา Domanda ได้เลยค่ะ

Domanda เราเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการขายของออนไลน์ และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเรามีบริการที่คุณสามารถช่วยคุณเรื่องการลงทุนในการขายของออนไลน์ และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โดยเราจะให้คำปรึกษาคุณแล้วช่วยคุณในทุกๆ ขั้นของการลงทุนซึ่งการช่วยกันแบบนี้เรียกว่า


1. EAP Electronic Commercial Asset Partner ย่อมาจาก โปรแกรมพาร์ทเนอร์สินทรัพย์ทางพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์.

รูปแบบการลงทุนแบบพาร์ทเนอร์หรือพันธมิตร

Domanda ลงทุน

1. ManPower

2. Media Production

3. Advertising Traffic Spending

ลูกค้า ลงทุน

4.Product


2. EAB Electronic Commercial Asset Builder ย่อมาจาก โปรแกรมสร้างสินทรัพย์ทางพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์

รูปแบบการลงทุนแบบพาร์ทเนอร์หรือพันธมิตร

ลูกค้าลงทุน

  1. ManPower
  2. Media Production
  3. Advertising Traffic Spending
  4. Product

หากคุณกำลังอยากเริ่มขายของออนไลน์ หรืออยากทำอีคอมเมิร์ซ แล้วจับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร กล้าๆ กลัวๆ สงสัยเรื่องค่าใช้จ่ายในการลงทุน การวางแผน ติดต่อเราได้เลย เรายินดีช่วยดูแลทุกๆ ธุรกิจของคุณ


เกี่ยวกับผู้เขียน